การพัฒนาองค์การ (Organization Development หรือ OD)
1. ให้การนับถือต่อคน (Respect for people)
โดยเชื่อว่า มนุษย์มีความรับผิดชอบมีสติปัญญาและต้องการให้ การใส่ใจและควรได้รับ การปฏิบัติ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
2. ไว้วางใจและช่วยเหลือเจือจุน (Trust and support)
กล่าวคือ องค์การที่ถือว่ามีสุขภาพดีและมีประสิทธิผล ต้องมีลักษณะของความไว้วางใจ มีความน่าเชื่อถือ มีบรรยากาศที่เปิดเผย และให้การเกื้อกูลต่อกัน
3. มีความเสมอภาคด้านอำนาจ (Power equalization)กล่าวคือ องค์การที่ถือว่ามีสุขภาพดีและมีประสิทธิผล ต้องมีลักษณะของความไว้วางใจ มีความน่าเชื่อถือ มีบรรยากาศที่เปิดเผย และให้การเกื้อกูลต่อกัน
ในองค์การที่มีประสิทธิผลจะไม่เน้นการใช้อำนาจและการควบคุมตามสายการบังคับบัญชา เป็นประเด็นสำคัญ
4. กล้าเผชิญปัญหา (Confrontation)
โดยไม่เลี่ยง ไม่ประวิงเวลาหรือหนีปัญหาที่เกิดขึ้น แต่จะใช้วิธีเผชิญปัญหาอย่างเปิดเผย
5. การมีส่วนร่วม (Participation)โดยไม่เลี่ยง ไม่ประวิงเวลาหรือหนีปัญหาที่เกิดขึ้น แต่จะใช้วิธีเผชิญปัญหาอย่างเปิดเผย
โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจะได้รับโอกาสมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะการได้มีส่วนร่วมยิ่งทำให้ต้องผูกพันต่อการนำข้อยุติลงสู่การปฏิบัติ
เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาองค์การ
เนื่องจากการพัฒนาองค์การ เป็นแผนรวมที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรแต่ละคนขององค์การ พร้อมกับ ปรับปรุงให้การดำเนินงาน ตามภารกิจขององค์การมีประสิทธิผลยิ่งขึ้นดังนั้นกิจกรรมของ OD ก็คือ แสวงหาทางที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานขององค์การ โดยการปรับปรุงคุณภาพของสภาวะแวดล้อมในที่ทำงานตลอดจนเจตคติและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานแผนพัฒนาองค์การจึงประกอบด้วยเทคนิคต่าง ๆ หลายอย่าง (บางครั้งเรียกว่า กิจกรรมสอดแทรก หรือ OD interventions) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญใช้เพื่อปรับปรุงการทำงานขององค์การทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การโดยรวม ในที่นี้จะเลือกนำเสนอเฉพาะเทคนิคการพัฒนาองค์การที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย 6 เทคนิค ได้แก่
- การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ (survey feedback)
- การฝึกอบรมเพื่อฝึกการรับรู้ (Sensitivity training)
- การสร้างทีมงาน (Team building)
- โปรแกรมสร้างคุณภาพในชีวิตงาน (Quality of work life programs)
- การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by objectives)
- การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู
1. เทคนิคการสำรวจข้อมูลย้อนกลับ (Survey feedback)
ขั้นแรก เป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งหลายที่เป็นข้อวิตกกังวนของพนักงาน เช่น บรรยากาศขององค์การ แบบภาวะผู้นำ และสภาพความพึงพอใจต่องาน เป็นต้น โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์หรือให้ตอบแบบสอบถามหรือทั้งสองอย่างก็ได้ ข้อมูลที่ได้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติลำเอียงและต้องเก็บเป็นความลับ ด้วยเหตุนี้จึงนิยมใช้ที่ปรึกษาภายนอกดำเนินการ
ขั้นที่สอง เป็นการเขียนรายงานข้อมูลที่ได้รับกลับมาจากพนักงานระหว่างการประชุมกลุ่มย่อย เช่น สรุปคะแนนเฉลี่ยด้านเจตคติของพนักงานที่วัดได้ เค้าโครงแสดงที่มาของความรู้สึกที่พนักงานมีต่อองค์การ หรือต่อผู้นำหรือต่องานที่ทำอภิปรายเพื่อหาประเด็นหลัก และการบ่งชี้ของข้อมูล ให้ได้ว่าปัญหาคืออะไร
ขั้นที่สุดท้าย เป็นการวิเคราะห์ปัญหาในแง่ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร การตัดสินใจและกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อนำมาจัดทำแผนในแต่ละเรื่อง การอภิปรายจะได้ผลดีถ้าได้มีการจัดเตรียมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีมีผู้นำจัดทำแผนที่มีความสามารถข้อดีของเทคนิคการสำรวจข้อมูลป้อนกลับก็คือ มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ได้ข้อมูลมากตามที่ต้องการ ทั้งยังยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการขององค์การต่าง ๆ ซึ่งมีปัญหาไม่เหมือนกันได้ดี แต่มีจุดอ่อนที่เกี่ยวกับความแม่นยำเที่ยงตรงของเครื่องมือแบบสอบถามที่ใช้และต้องได้รับความสนับสนุนจริงจังของฝ่ายบริหารจึงจะได้ผลดี
2. เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อฝึกการรับรู้ (Sensitivity Training หรือ T-groups)
โดยใช้กลุ่มเล็กประมาณ 8-15 คน มาเล่าประสบการณ์หรือเรื่องเกี่ยวกับตนให้คนอื่นฟังและร่วมแสดงความเห็นแง่มุมต่าง ๆ ของเรื่องนั้น เพื่อให้ผู้นั้นมองเห็นได้ทะลุปรุโปร่งจนสามารถเข้าใจตนเอง เทคนิคนี้มีหลักการและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังก็คือ ปกติคนเราจะไม่ยอมเปิดเผยความจริง เกี่ยวกับตัวเองและมีความซื่อตรงต่อคนอื่นอย่างสมบูรณ์ ดังนั้น เทคนิค T-group นี้จึงมีเงื่อนไขกติกาของกลุ่มที่ทุกคนต้องพูดจาสื่อสารต่อกันอย่างเปิดเผย และซื่อตรงต่อกัน โดยไม่มีความกดดันจากภายนอก ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงมักจัดนอกสถานที่ซึ่งไกลจากที่ทำงานได้หลายวัน โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ประจำกลุ่มคอยให้คำแนะนำและรักษาบรรยากาศที่ดีของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา ภายหลังจากกลุ่มมีความไว้วางใจต่อกัน และช่วยแลกเปลี่ยนความเห็นต่อปัญหาซึ่งกันและกันทีละคน ก็จะทำให้เจ้าของปัญหามองเห็นและเข้าใจตนเองดียิ่งขึ้น โดยทำหมุนเวียนจนครบทุกคน สมาชิกนอกจากเข้าใจตนเองแล้วยังเข้าใจถึงความรู้สึกของสมาชิกคนอื่นและเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันอย่างไรก็ตาม การวัดความสำเร็จของเทคนิค T-group ที่นำมาใช้เป็นกิจกรรมพัฒนาองค์การนั้น มองเห็นได้ยาก แม้จะเกิดผลดีระหว่างทำกิจกรรมกลุ่ม ดังกล่าว แต่ยังไม่อาจสรุปได้ว่า สามารถถ่ายโอนมาสู่บรรยากาศการทำงานจริงขององค์การได้มากน้อยเพียงไร ดังนั้น เทคนิค T-group มักใช้ร่วมกับ เทคนิคอื่น ๆ ในการพัฒนาองค์การ
3. เทคนิคการสร้างทีมงาน (Team Building Technique)
4. เทคนิคการจัดโปรแกรมคุณภาพในชีวิตงาน (Quality of work life หรือ QWL)
4.1 ใช้กิจกรรมปรับโครงสร้างใหม่ของงาน (Work restructuring) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิธีทำงานใหม่ให้มีความน่าสนใจแก่พนักงาน โดยสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น ใช้เทคนิคการจัดรูปแบบคุณสมบัติของงาน (Job characteristic model) (รายละเอียดของเทคนิคเหล่านี้อ่านได้จากบทที่ 4 เรื่องการจูงใจในองค์การ)
4.2 ใช้กิจกรรมวงจรคุณภาพ (Quality circles หรือเรียกย่อว่า QC) เป็นกิจกรรมที่แบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่ม ๆ ละประมาณ 10 คน เป็นสมาชิกที่มาจากความสมัครใจและมีการประชุมพบปะกันอยู่เสมอ (อาทิตย์ละครั้งโดยประมาณ) เพื่อระบุถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับ คุณภาพของงานและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานของพวกตน ในองค์การหนึ่งอาจมีทีมงาน QC หลายทีม โดยแต่ละทีมจะรับผิดชอบ ดูแลงานเฉพาะด้าน ที่ตนสนใจและมีความถนัด เพื่อให้ทีมงานเกิดผลดี สมาชิกของทีมควรผ่านการฝึกอบรมวิธีการแก้ปัญหา (Problem solving) มาก่อน อย่างไรก็ดีมีผลงานวิจัยระบุว่า แม้กิจกรรม QCs จะมีผลดีต่อการปรับปรุงคุณภาพในชีวิตในช่วงระยะเวลาสั้น (ราวไม่เกิน 18 เดือน) แต่พบว่ามีประสิทธิผลน้อยลงถ้าจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว (Griffin,1988 อ้างใน Greenberg,1997:567)
กล่าวโดยสรุป เทคนิคการจัดโปรแกรมคุณภาพในชีวิตงาน หรือ QWL มีประโยชน์อย่างน้อย 3ประการได้แก่
(1) เพิ่มความพึงพอใจในงาน เกิดความผูกพันต่อองค์การและลดการลาออกน้อยลง
(2) เพิ่มผลผลิตหรือผลงาน ให้สูงขึ้น (Increased productivity)
(3) เพิ่มความมีประสิทธิผลขององค์การ (เช่น ผลกำไรมากขึ้น การได้บรรลุเป้าหมาย)
5. เทคนิคการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by objectives หรือเรียก MBO)
เป็นเทคนิคที่ทั้งผู้บริหารและพนักงานร่วมกันกำหนดเป้าหมายขององค์การแล้วพยายามดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายนั้น โดยกระบวนการของการบริหาร โดยยึดวัตถุประสงค์ หรือ MBO แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนในขั้นแรก ทำการเลือกเป้าหมายที่ต้องการให้พนักงานดำเนินการได้ดีที่สุดตามความต้องการขององค์การ การเลือกเป้าหมายควรทำร่วมกันทั้งผู้บริหารและพนักงานแทนที่จะเป็นการสั่งมาจาก ผู้บริหาร โดยเป้าหมายที่กำหนดจะต้องสามารถวัดได้และมีเงื่อนไขกำกับด้วย ตัวอย่างเช่น “จะเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นกว่าเดิม 15 เปอร์เซ็นต์ภายในไตรมาสแรกของปี” หรือ “จะลดอัตราการชำรุดของผลิตภัณฑ์ลงจากเดิม 25 เปอร์เซ็นต์ภายในปีนี้” เป็นต้น ในขั้นตอนนี้ทั้งผู้บริหารและพนักงานจะ ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan) เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
ขั้นที่สอง เมื่อได้กำหนดเป้าหมายและจัดทำแผนปฏิบัติแล้วก็ถึงขั้นการนำแผนลงสู่การปฏิบัติ (Implementation) ในการปฏิบัติตามแผนจำเป็นต้องมีการตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอทุกระยะว่าเป็นไปตามที่ประมาณการตามเป้าหมายหรือไม่ ถ้าเกิดปัญหาขึ้นระหว่างดำเนินการปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขหรือไม่ และถ้ามีการผิดพลาดไปจากแผนได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง จำเป็นต้องปรับแผนปรับวิธีดำเนินการหรือแม้แต่ปรับเป้าหมายหรือไม่
ขั้นสุดท้าย หลังจากได้กำกับดูแลให้มีความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายแล้ว ในขั้นต่อไปที่ต้องทำก็คือ การประเมินผลว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ และบรรลุตามเป้าหมายขององค์การเพียงไร โดยถ้าพบว่าได้บรรลุตามเป้าหมาย ก็สามารถริเริ่มกำหนดเป้าหมายใหม่ที่สูงกว่าเดิมขึ้นอีก แต่ในทางกลับกัน ถ้าประเมินแล้วพบว่า ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้ ก็กลับไปเริ่มจัดทำแผนปฏิบัติการขึ้นใหม่ที่สามารถ จะดำเนินการ ให้บรรลุเป้าหมายได้ ด้วยเหตุที่เมื่อบรรลุเป้าหมายได้แล้ว ระบุให้เริ่มเลือกกำหนดเป้าหมายขึ้นใหม่ดังกล่าว จึงทำให้ MBO เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง ตลอดเวลา MBO จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลสูงที่ใช้ในการวางแผนและการวางกลยุทธ์การ เปลี่ยนแปลงขององค์การ เป็นวิธีการที่ทั้งพนักงาน และองค์การ ร่วมทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน พนักงานโดยเฉพาะระดับล่างได้มีส่วนร่วมมากขึ้น โดยผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงความเต็มใจ ให้การยอมรับให้การสนับสนุนและเข้ามาร่วมทุกขั้นตอนให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามกิจกรรม MBO จะมองเห็นผลได้ชัดเจนต้องใช้ระยะเวลายาวนานพอควร โดยเฉลี่ยประมาณ 3-5 ปี ดังนั้น MBO อาจไม่เหมาะกับองค์การประเภทที่ต้องการเห็นผลรวดเร็ว
6. เทคนิคการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Creating a learning organization)
ในแต่ละทศวรรษที่ผ่านมามักมีการนำแนวคิดใหม่มาใช้พัฒนาองค์การ กล่าวคือ เทคนิคการบริหารคุณภาพโดยรวมหรือ TQM ในทศวรรษ 1980 ต่อมาในทศวรรษ 1990 หันมาเน้นเทคนิคการปฏิรูปยกรื้อระบบ (Reengineering)และในปัจจุบันกล่าวถึงเรื่ององค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) โดยนักวิชาการและผู้บริหารองค์การต่างพยายามเสนอหนทางใหม่ที่เหมาะสมกับโลกปัจจุบันที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและต้องมีการพึ่งพาระหว่างกัน (Interdependence and change) ต่อไปนี้จะกล่าวถึงลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้และวิธีบริหารการเรียนรู้6.1 ลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์การที่มีศักยภาพที่สามารถยืดหยุ่นในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา องค์การก็เหมือนกับบุคคลที่ต้องเรียนรู้อยู่เสมอไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อให้องค์การสามารถดำรงอยู่ด้วยดีอย่างถาวร เมื่อเกิดปัญหาขึ้น องค์การจะมีแนวทางดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน2วิธีต่อไปนี้ วิธีแรก เป็นการแก้ปัญหาโดยใช้ประสบการณ์เก่า (Single – loop learning) เป็นการเรียนรู้การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิธีการเดิมที่เคยใช้ได้ผลในอดีต ผนวกเข้ากับนโยบายที่มีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวิธีที่ตรงกันข้าม กับที่ใช้ในองค์การแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นวิธีที่สองที่เรียกว่า เป็นการแก้ปัญหาแบบองค์รวม (Double – loop learning) กล่าวคือ เมื่อพบว่ามีปัญหา จะใช้วิธีการที่มีการหลอมรวมวัตถุประสงค์ขององค์การ นโยบายและแนวปฏิบัติประจำ ที่มีมาตรฐานเข้าด้วยกัน ในการพิจารณาหาข้อยุติของปัญหา วิธีแก้ปัญหาแบบหลังจะมีลักษณะท้าทายต่อความเชื่อและปทัสถานที่มีในองค์การ ในแง่ที่เชื่อว่า สามารถแก้ปัญหาได้อย่างชนิดถอนรากถอนโคน และทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงใหญ่ขึ้นต่อองค์การเซนจ์ (P.M. Senge) แห่งสถาบัน MIT ของสหรัฐ ได้สรุปคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการของ องค์การแห่งการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
ทุกคนเห็นด้วยและยึดมั่นต่อวิสัยทัศน์ร่วมกัน
แต่ละคนจะละทิ้งวิธีการคิดแบบเก่าตลอดจนมาตรฐานต่าง ๆ ที่เคยใช้ในการแก้ปัญหาอยู่ประจำ
- สมาชิกทุกคนต้องคิดถึงกระบวนการขององค์การในเชิงภาพรวม โดยที่กิจกรรมภารกิจ หน้าที่ตลอดดำเนินงานทั้งหลายจะเกี่ยวข้อง และเป็นสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน
- สมาชิกใช้วิธีสื่อสารต่อกันอย่างเปิดเผย ทุกทิศทางทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยปราศจากความรู้สึก หวาดกลัวต่อคำวิจารณ์หรือ การลงโทษแต่อย่างใด
- สมาชิกจะลดละต่อสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ส่วนตนของแผนกหรือของกลุ่มตนให้น้อยลงแต่จะหันมาทำงาน ร่วมกันเพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ร่วมกับองค์การ
1. กำหนดยุทธศาสตร์ (Establish a strategy) ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องแสดงจุดยืนของตนอย่างชัดเจนกว่า ตนมุ่งมั่นผูกพันต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างจริงจังและดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2. ออกแบบโครงสร้างใหม่ขององค์การ (Redesign the organization’s structure) เนื่องจาก โครงสร้างอย่าง ทางการแบบเก่าเป็นอุปสรรคขัดขวาง ต่อการเรียนรู้อย่างยิ่ง จึงควรแก้ไขให้โครงสร้างเป็นแบบแนวราบ (Flat organization) ซึ่งลดระดับสายการบังคับบัญชาให้เหลือน้อยลง พยายามหลอมรวมแผนกต่าง ๆ ที่มีภารกิจใกล้เคียงเข้าด้วยกัน เพิ่มการใช้ทีมงานแบบไขว้หน้าที่ (Cross-functional teams) มากขึ้น ส่งเสริมการทำงานที่ต้องพึ่งพาระหว่างกันมากขึ้น และขจัดพรมแดนระหว่างบุคคลให้น้อยลง
3. ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมใหม่ขององค์การ (Reshape the organization’s culture) ดังกล่าวแล้วว่า คุณลักษณะที่สำคัญขององค์การแห่งการเรียนรู้ ก็คือ มีความกล้าเสี่ยง (Risk taking) ความเปิดเผย (Openness) และ ความก้าวหน้า (Growth)
ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงต้องกำหนดท่าทีทั้งทางคำพูดและการกระทำไปในลักษณะดังกล่าวจนฝังรากลึกกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ ผู้บริหารเองต้อง แสดงออกให้เห็นถึงความเป็นคนกล้าเสี่ยงและยอมรับว่าการผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา ยอมให้ผลตอบแทนแก่คนที่กล้าฉกฉวยโอกาสที่จะเป็น ประโยชน์แก่งานส่วนรวม แม้จะต้องพบความผิดพลาดบ้างก็ตาม ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งที่เกี่ยวกับงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เรียนรู้ร่วมกันในการหาคำตอบที่ดีที่สุดแก่องค์การ
อย่างไรก็ดี แนวคิดในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ซึ่งมีคุณลักษณะทั้ง 5 ประการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วยังเป็นรูปแบบเชิงอุดมคติ เนื่องจากยังไม่พบ องค์การใด ที่มีคุณลักษณะที่ครบถ้วน แต่องค์การแห่งการเรียนรู้ก็ได้บรรจุแนวคิดต่าง ๆ ด้านพฤติกรรมองค์การ อาทิเช่น TQM วัฒนธรรมองค์การ องค์การที่ไร้พรมแดน ความขัดแย้งเกี่ยวกับงาน และภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ เป็นต้น กล่าวคือองค์การแห่งการเรียนรู้รับแนวคิดของ TQM ในประเด็นที่เน้นการยึดมั่นต่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง องค์การแห่งการเรียนรู้มีวัฒนธรรมองค์การที่เน้นเรื่อง ความกล้าเสี่ยง ความเปิดเผยโปร่งใส และความเจริญงอกงาม เป็นต้น องค์การแห่งการเรียนรู้ยังเน้น หลักการไร้พรมแดนด้วยการปรับลดระดับของสายการบังคับบัญชาให้น้อยลง พร้อมทั้งหลอมรวมแผนกต่าง ๆ ที่เคยแยกย่อยซ้ำซ้อนเข้าด้วยกัน นอกจากนี้องค์การแห่งการเรียนรู้ยังสนับสนุนและให้ความสำคัญต่อความคิดเห็นที่ต่างกัน การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์และ ความขัดแย้งที่เกี่ยวกับงาน ในรูปแบบต่าง ๆ และที่แน่นอน
การพัฒนาองค์การ (Organization Development หรือ OD)
ขอขอบคุณ https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/organization-development.htm
สืบค้นวันที่ 13/12/2560
If you're attempting to lose pounds then you certainly have to try this brand new tailor-made keto meal plan diet.
ตอบลบTo create this service, licensed nutritionists, fitness couches, and top chefs have joined together to produce keto meal plans that are powerful, decent, economically-efficient, and satisfying.
From their grand opening in January 2019, 100's of people have already remodeled their figure and health with the benefits a certified keto meal plan diet can offer.
Speaking of benefits; clicking this link, you'll discover 8 scientifically-certified ones given by the keto meal plan diet.