การเพิ่มผลผลิตในองค์กร
1. การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ
2. การลดต้นทุน
3. ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและการบริการ
4. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
3. ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและการบริการ
4. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
เช่น อัตราผลิตภาพวัตถุดิบ (Material Productivity)
อัตราผลิตภาพเรื่องเงินลงทุน (Capital Productivity)
อัตราผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity)
อัตราผลิตภาพค้าใช้จ่าย (Expense Productivity)
อัตราผลิตภาพพลังงาน (Energy Productivity) เป็นต้น
ตัวอย่าง ผลิตผล 1000 บาท
ทรัพยากรที่ใช้
– วัตถุดิบ 200 บาท
– เงินลงทุน 300 บาท
– แรงงาน 200 บาท
– ค่าใช้จ่าย 50 บาท
– พลังงาน 100 บาท
อัตราผลิตภาพวัตถุดิบ = 1000/200 = 5.00 บาท/บาท
อัตราผลิตภาพเรื่องเงินลงทุน = 1000/300 = 3.33 บาท/บาท
อัตราผลิตภาพแรงงาน = 1000/200 = 5.00 บาท/บาท
อัตราผลิตภาพค่าใช้จ่าย = 1000/50 = 20.00 บาท/บาท
อัตราผลิตภาพพลังงาน = 1000/100 = 10.00 บาท/บาท
1.2.1 อัตราผลิตภาพองค์ประกอบรวม (Total Factor Productivity) คือ อัตราส่วนผลิตผลสุทธิ ต่อผลรวมของทรัพยากรด้านเงินทุน และแรงงาน (ผลิตผลสุทธิ = ผลผลิตรวม – ค่าวัตถุดิบบริการที่ต้องซื้อ)วงจรผลิตผล (Productivity Cycle)
การเพิ่มผลผลิตจะเกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นวงจร (Cycle) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการของวงจรผลิตภาพหรือวงจรการเพิ่มผลผลิต เป็นขั้นตอนดังนี้
1. การวัดผลงาน (Measurement)
2. การประเมินผลงาน (Evaluation)
3. การวางแผน (Planning)
4. การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)
ต้นทุนและความสูญเสีย
องค์การที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงานผู้บริหารมักคำนึงถึงกำไร (Profits) เป็นเป้าหมายสูงสุดซึ้งการจะได้กำไรมากน้อยขึ้นอยู่กับราคาขายหรือมูลค่าสินค้าต้องสูงกว่าต้นทุนการผลิต จากสมการ
กำไร = ราคาขาย – ต้นทุน
1. ค่าวัสดุ (Material Cost)
2. ค่าแรงงาน (Labor Cost)
3. ค่าโสหุ้ย (Overhead Cost)
ค่าโสหุ้ย จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ
– ค่าวัสดุทางอ้อม เช่น ค่าวัสดุเครื่องใช้สำนักงาน ค่าทำความสะอาด ค่าบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
– ค่าแรงงานทางอ้อม เช่น ค่ายามรักษาความปลอดภัย ค่าพนักงานทำความสะอาด พนักงานรับโทรศัพท์ เป็นต้น
– ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
– ค่าใช้สอยอื่นๆ
– ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและทรัพย์สินอื่น ๆ
– ค่าใช้จ่ายสวัสดิการ เช่น โบนัส ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
– ค่าขนส่ง เป็นต้น
ปัญหาของการเพิ่มผลผลิต ซึ้งทำให้ผลผลิตตกต่ำลงและอาจมีสาเหตุหลายประการซึ้งทำให้เกิดความสูญเสีย ได้แก่
3.2.1. ความสูญเสียในส่วนวัสดุ เช่น
– มากเกินไป สั่งซื้อมามาก ทำให้หมดเงินลงทุน และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
– สูญหาย การวางผิดที่ หยิบใช้โดยไม่ต้องบอก ฯลฯ
– ไว้ผิดประเภท จัดซื้อไม่ถูกขนาดหรือ Spec เสียค่าใช้จ่ายมาก ฯลฯ
3.2.2. ความสูญเสียในส่วนเครื่องจักร
– เก่าชำรุด
– สกปรก ขาดการดูแลรักษา
– ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ฯลฯ
3.2.3. ความสูญเสียในส่วนแรงงาน
– ขาดระเบียบวินัย
– ขาดการฝึกอบรม
– มีทัศนคติที่ไม่ดีในการทำงาน ฯลฯ
3.2.4. ความสูญเสียในส่วนกระบวนการผลิตหรือวิชาการทำงาน
– ขาดเทคโนโลยี
– ไม่มีการพัฒนาควบคุมคุณภาพ ฯลฯ
1. ผลิตมากเกินไป
2. ของชำรุดเสียหายหรือของเสีย
3. ความล่าช้าหรือการรอคอย
4. วัสดุคงคลัง สินค้าคงคลังมากเกินไป
5. การขนส่งหรือการขนย้าย
6. กระบวนการหรือการแปรรูป
7. การเคลื่อนไหว
การผลิตมากเกินไป ทำให้มีการใช้วัตถุดิบและแรงงานเกินความจำเป็น เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตขั้นสุดท้าย และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า การบรรจุภัณฑ์และการขนส่ง
– ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect)
การผลิตของเสีย หมายถึง การสูญเสียคุณค่างาน เสียเวลา เสียวัตถุดิบ และยังเป็นการเพิ่มงานในการผลิตหรือการแก้ไขงานใหม่
– ความสูญเสียที่เกิดจากการล่าช้าหรือการรอคอย (Delay or Waiting)
การรอคอย หรือความล่าช้า เกิดจากสาเหตุต่างๆ กัน เช่น ความล่าช้าของการส่งวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน การใช้เวลานานในการติดตั้งเครื่องจักร กระบวนการขาดความสมดุลอันเนื่องจากการวางแผนการผลิตไม่ถูกต้อง
– ความสูญเสียที่เกิดจากการมีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / workin-process)
การสะสมวัตถุดิบไว้จำนวนมากแล้วใช้ไม่ทัน ทำให้ต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาต้องเสียค่าใช้จ่าย ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย เสียเวลาทำงาน และเสียทรัพยากรอื่นๆ
– ความสูญเสียที่เกิดจากการขนส่งหรือขนย้าย (Transport)
การใช้แรงงานขนส่งของเป็นระยะไกลๆ ในการทำงาน การเดินทางของพนักงานส่งเอกสาร การขนส่งเป็นการสูญเสียที่ไม่ได้เพิ่มคุณค่าของสินค้า
– ความสูญเสียเกิดจากการกระบวนการผลิต (Process)
ความสูญเสียอาจเกิดจากการไม่ได้ดูแลรักษาเครื่องจักร การทำงานด้วยมือที่มีการข้ามขั้นตอนการทำงาน เครื่องจักรมีประสิทธิภาพต่ำ
– ความสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)
การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น การปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมถูกต้อง การทำงานกับเครื่องมือหรืดอุปกรณ์ที่มีขนาดน้ำหนักหรือสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมกับร่างกาย
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในองค์การ
หลักการสำคัญของการบริหารเพื่อเพิ่มผลผลิตในองค์การ สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ
4.1. เวลาในการผลิต
4.2. การวางแผนควบคุมการผลิต
4.3. การใช้ระบบเพียงระบบเดียวในการผลิต
4.4. ไม่มีวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการผลิต
ขอขอบคุณ http://www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=388020&Ntype=3
สืบค้นเมือวันที่ 15/11/2560
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น